การมองเห็นสามมิติ...ใครคิดว่าไม่สำคัญ



หากคุณเป็นคนนึงที่คิดว่าสามมิตินะรึ...งั้นๆล่ะ ลองอ่านบทความนี้ดูซิคะ แล้วคุณจะเปลี่ยนใจพูดว่า สามมิติ...สุดยอดมหัศจรรย์ของการมองเห็น เลยทีเดียว



ภาพด้านบน คุณรู้มั้ยว่า คือภาพอะไร



ถ้าคุณยังมองไม่ออก เทคนิคง่ายๆ ก็คือ ให้คุณถือหนังสือนี้ห่างจากตัวคุณในระยะสุดปลายแขน ใช้มืออีกข้างจับดินสอปลายแหลมยื่นตรงไปข้างหน้าที่รูป วางอยู่ (ให้ปลายดินสออยู่ชิดกับหนังสือ) ตาคุณให้มองที่ปลายดินสอ คราวนี้ค่อยๆ เลื่อนดินสอเข้ามาหาตัวคุณช้าๆ (ตายังจ้องที่ปลายดินสอ) ค่อยๆเลื่อนดินสอ เข้ามาเรื่อยๆ คุณจะค่อยๆรับรู้ภาพที่วางอยู่ด้านหลังว่า มันเริ่มนูนขึ้นมาเล็กน้อย ...ใช่ค่ะสิ่งที่คุณกำลังเห็นก็คือ คำว่า EYE STRAIN (สำหรับท่านที่อายุมากกว่า 40 ปี คงต้องใส่แว่นดูหนังสือ และถือหนังสือห่างจากตัวประมาณ 40 ซม. และใช้วิธีการเดียวกันก็จะมองเห็นค่ะ)



แต่คุณเคยรู้มั้ยว่า การที่คุณเห็นภาพ 3 มิติได้ เป็นการบอกได้ว่า ระดับการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างมีระดับการมองเห็นที่ชัดใกล้เคียงกันจึงทำให้คุณ สามารถเห็นความนูน ความลึก หรือที่เราเรียกว่า สามมิตินี้ได้และก็สำคัญมากเสียด้วยในการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเราไม่ว่าจะเป็นการขับรถแซงคันหน้า การแหย่รูเข็ม หยิบปากกาที่วางอยู่บนโต๊ะการพัทกอล์ฟ หรือแม้กระทั่งหมอฟันที่กรอฟันให้เรา ก็ต้องอาศัยการมองเห็นสามมิติด้วยกันทั้งสิ้น


หากคุณยังไม่เชื่อว่าการมองเห็นสามมิติมีความสำคัญจริงๆ ก็ลองใช้มือซ้ายหยิบปากกาขึ้นมา 1 ด้าม ตั้งปลายปากกาขึ้น ยืดแขนให้ห่างจากตัวคุณ ประมาณ 40 ซม. คราวนี้ลองหลับตาซ้าย แล้วใช้มือขวาหยิบปากกาอีก 1 ด้าม คุณลองเอาปากกามาวางไว้ในระดับที่คุณคิดว่าเท่ากัน คราวนี้ลองลืมตาซ้าย ดูซิคะว่า ปากกา 2 ด้ามอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่..เห็นมั้ยคะว่า การมองด้วยตาเพียงข้างเดียวจะทำให้เราคำนวณระยะทางได้ผิดเพี้ยนไป ต่างจากการมอง ด้วยตา 2 ข้างแล้ววางดินสอให้อยู่ ณ ระดับเดียวกัน จะทำได้ง่ายและแม่นยำมากกว่า



กลไกการมองเห็นสามมิติ เป็นขบวนการที่ซับซ้อนของระบบการมองเห็น ซึ่งจะเริ่มมีพัฒนาการมาตั้งแต่คุณยังเป็นเด็ก เล็กๆ อายุประมาณ 4-เดือนและก็มี พัฒนาการต่อเนื่องจนกระทั่งคุณอายุประมาณ 7-8 ขวบ ตอนนั้นคุณก็จะมีระดับการมองเห็นสามมิติใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่ แต่มีข้อแม้ที่สำคัญก็คือตาทั้ง 2 ข้าง ของคุณจะต้องมีระดับการมองเห็นที่คมชัดและต้องเท่าๆกันด้วย คุณจึงจะสามารถมองเห็นสามมิติได้ดีที่สุด



ดังนั้นเราจึงมักพบว่ามีบางคนที่พยายามมองภาพสามมิติแต่เค้าก็ไม่สามารถมองได้สักทีหรือมองได้ช้ามากๆ คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีระดับการมองเห็น ของตาทั้งสองข้างแตกต่างกันมาก ( ตาสองข้างชัดไม่เท่ากัน) หรือคนที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อตา เช่น ตาเหล่ออก เหล่เข้า หรือคนที่มีปัญหาตาขี้เกียจ (Amblyopia) ซึ่งเป็นผลจากพัฒนาการด้านการมองเห็นในวัยเด็กถูกขัดขวางนั่นเอง



สำหรับบางท่านที่มีสายตาทั้งสองข้างที่ชัดเป็นปกติ และเห็นชัดเท่าๆ กันแต่มองภาพสามมิติที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ไม่ได้ ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ ลองใช้เทคนิคที่แนะนำข้างต้นดู ฝึกฝนไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถทำได้เองค่ะ แต่ถ้ายังทำไม่ได้จริงๆให้ลองถือหนังสือใกล้เข้ามาในระดับ 30 ซม.แล้วมองให้ทะลุผ่านไปด้านหลังของภาพก็จะมองเห็นได้เช่นกันค่ะ แต่ลักษณะการนูนของภาพจะต่างกันนะค่ะ (ต้องใช้เวลาในการดูนานหน่อย จึงจะเห็นคะ)



คุณสามารถทดสอบระดับการมองเห็นของคุณได้ด้วยวิธีง่ายๆ ก็คือ การปิดตาทดสอบทีละข้างเพื่อดูว่าคุณมองเห็นได้ชัดเท่ากันหรือไม่ แต่ถ้าแตกต่างกัน มาก คุณก็ควรจะเข้ารับการตรวจเช็คสายตาได้แล้วนะคะ เพื่อสุขภาพการมองเห็นที่เป็นเลิศ

ที่มา ดร.อรนุช ทวีกุล (Doctor of Optometry)
 
 
บริษัท สมาร์ท วิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด 1811,1813 ถ.จรัญสนิทวงศ์ บางพลัด กทม 10700 Tel. 0 2433 4755-6 E-mail : crm.svt@gmail.com Fb : www.facebook.com/smartvision99 Line ID :@smartvision
กรุณาเลือกหัวข้อ

แจ้งแก้ไข ซ่อมแซมแว่นตา

ตรวจสุขภาพสายตาเคลื่อนที่สำหรับบุคคลหรือหน่วยงาน

อบรมให้ความรู้เรื่องสายตา,โรคตา,การดูแลสุขภาพตานอกสถานที่

Name
:
Email
:
Telephone
:
Detail
: