จอประสาทตาเสื่อม Age related macular degeneration : AMD
โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่มีความผิดปรกติเกิดขึ้นที่จุดกลางรับภาพของจอประสาทตา (Macula) ซึ่งเป็นส่วนที่ไวต่อการ
มองเห็นมากที่สุดโดยผู้ป่วยมักจะไม่สังเกตเห็นถึงความผิดปรกติในระยะเริ่ม ต้น มารู้ตัวเมื่อมีการสูญเสียการมองเห็นเกิดขึ้นแล้วอย่างไร
ก็ตาม โรคจอประสาทตาเสื่อมจะ ทำให้สูณเสียการมองเห็นเฉพาะตรงกลางภาพโดยที่ผู้ป่วยยังสามารถมองเห็นบริเวณขอบด้านข้างของ
ภาพได้อยู่ โรคนี้มีอุบัติการสูงขึ้นมากในกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะตาบอดแบบถาวรในผู้สูงอายุ บุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม คือ ผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจึงควรได้รับการตรวจจอประสาทตาทุก
1-2 ปี นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน คลอเลสเตอรอล สูง และประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้ล้วนเป็น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป
ชนิดของจอประสาทตาเสื่อม มี 2 รูปแบบ คือ
1.แบบแห้ง (Dry AMD) เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด จะมีการเสื่อมสลาย และบางลงของ จุดกลางรับภาพจอประสาทตา (macula) จาก
ขบวนการ เสื่อมตามอายุ (aging) ความสามารถในการมองเห็นจะค่อย ๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้า ๆ
2.แบบเปียก (Wet AMD) พบประมาณ 10-15 % ของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่มีลักษณะการเกิดการสูญเสียการมองเห็น อย่างรวดเร็ว และเป็นสาเหตสำคัญของการตาบอดในโรค จอประสาทตาเสื่อม เกิดจากการที่มีเส้นเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตา และผนังชั้นพี่เลี้ยง (Retinal pigment epithelium) มีการรั่วซึมของเลือดและสารเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้ ทำให้จุดกลางรับภาพบวม คนไข้ จะเริ่มมองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว และมืดลงในที่สุด เมื่อเซลล์ประสาทตาตาย
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม
1.อาการและอาการแสดง โรคจอประสาทตาเสื่อม อาจแสดงอาการแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน และยากต่อคนไข้ที่จะสังเกตความ
ผิดปรกติใน การมองเห็นเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างหนึ่งยังมองเห็นได้ดี คนไข้อาจไม่สังเกตถึงความผิดปรกติไปหลายปีแต่ถ้ามีจอประสาทตา เสื่อมเกิดขึ้นในตาทั้ง 2 ข้าง คนไข้จะรู้สึกถึงความผิดปรกติในการมองเห็นอย่างรวดเร็ว เช่น มองตรงกลางภาพไม่ชัด ส่วนกลางของภาพที่มองขาดหายไป หรือมืดดำไป หรือภาพที่เห็นดูบิดเบี้ยวไป
2.สิ่งตรวจพบ ตามคำแนะนำของวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา "บุคคลทั่วไปอายุระหว่าง 40 - 64 ปี ที่ไม่มีอาการผิดปรกติใน
การมองเห็น ควรได้รับการตรวจสุขภาพตา(รวมทั้งตรวจจอประสาทตา) ทุก 2-4 ปี สำหรับคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปแนะนำให้ตรวจทุก
1 - 2 ปี แม้ไม่มีอาการผิด ปรกติอะไร" เนื่องจาก การที่คนไข้จะรู้สึกถึงความผิดปรกติจากโรคจอประสาทตาเสื่อม ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเป็นสิ่ง
ที่ยาก แต่ในขณะเดียวกันการตรวจพบ และให้การรักษาโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดเพราะว่าจอประสาทตาที่เสื่อมเสียไป
แล้ว มีแต่จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆการรักษาในปัจจุบันจึง ทำได้เพียงหยุดหรือชะลอการเสื่อมเสียของจอประสาทตาให้ช้าที่สุด ซึ่งอาจรักษา
ไม่ได้เลย ถ้าโรคเป็นรุนแรง