ความรู้เกี่ยวกับสายตา (Refractive Status Of The Eye)
สายตา ( Eyesight ) หมายถึงความสามารถของการใช้ตามองภาพ การที่จะเรียกว่าสายตาดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าการมองเห็นได้ชัดเจนดีแค่ไหน เช่น บางคนมองเห็นตัวเลขบน “ สเนลเลนส์ ชาร์ต “ จนถึงแถวท้าย ๆ เราก็เรียกว่า สายตาดี แต่บางคนมองได้แค่บางแถวอย่างนี้เรียกว่า สายตาไม่ดี
ประเภทของสายตา เราสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. สายตาปกติ ( Emmetropia )
2. สายตาสั้น ( Myopia )
3. สายตายาว ( Hyperopia )
4. สายตาเอียง ( Astigmatism )
5. สายตาคนสูงอายุ ( Presbyopia )
(1) สายตาปกติ ( Emmetropia )
คือสภาวะที่เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุมีการหักเหผ่านส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างตาแล้วไปโฟกัสลงพอดีที่จอรับภาพ ( Retina ) ก็จะทำให้การมองเห็นภาพนั้น ชัดเจนเป็นปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แว่นตา คนที่จะมีสายตาปกติเช่นนี้ จะต้องมีโครงสร้างส่วนต่างๆ ของลูกตาที่พอดี ลักษณะการโฟกัสแสงของสายตาปกติ
(2) สายตาสั้น ( Myopia )
คือ สภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุมีการโฟกัสตกก่อนที่จะถึงจอรับภาพ(Retina) ทำให้เกิดปัญหามองไกลไม่ชัด สาเหตุของสายตาสั้น
( Causes )
1. เกิดจากลูกตามีขนาดใหญ่หรือยาวเกินไป ( Elongated Eyeball )
2. มีกระจกตาที่โค้งมากผิดปกติ ( Shape of the Cornea too steep)
3. เกิดจากพันธุกรรม ( Heredity )
4. ขาดหรือได้รับวิตามิน เอ น้อยเกินไป ( Vitamin A Deficiency ) ลักษณะการโฟกัสแสงของสายตาสั้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดสายตาสั้น เช่น s ใช้สายตาในที่แสงสว่างไม่เพียงพอติดต่อกันนาน ๆ ( Improper use of vision ) s เด็กที่คลอดก่อนกำหนด (Premature) s คนไข้ที่เป็นต้อกระจก ในระยะเริ่มแรก ( Acquired Myopia ) s ผลข้างเคียงของโรคบางชนิด
อาการของคนสายตาสั้น ( Symptoms )
1. มองไกลไม่ชัด ( Bluring at far )
2. ปวดศีรษะซึ่งเกิดจากการพยายามหยีตามองภาพ ( Headache )
3. มีอาการแพ้แสง ( Photophobia )
ลักษณะของคนสายตาสั้น (Signs)
1. หยีตามองภาพ ( Squinting )
2. จ้องภาพหรือวัตถุนาน ๆ เนื่องจากมองไม่ชัด ( Staring expression )
3. รูม่านตาใหญ่ ทำให้แพ้แสงได้ง่าย ( Dilated Pupil)
4. ลูกตามีลักษณะโปน ( Exophthalmos ) การแก้ไข (Treatment) - ให้เลนส์เว้าหรือเรียกว่าเลนส์สายตาสั้น ( Concave Lens )
(3) สายตายาว ( Hyperopia )
คือ สภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุมีการโฟกัสตกหลังจอรับภาพ ซึ่งตรงกันข้ามกับสายตาสั้น ลักษณะการโฟกัสแสงของสายตายาว
สาเหตุของสายตายาว (Causes)
1. เกิดจากลูกตามีขนาดเล็กเกินไป ( Micropthalmus )
2. มีกระจกตาค่อนข้างแบน ( Flat Cornea )
3. พันธุกรรม ( Heredity ) สาเหตุอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดสายตายาว เช่น s สภาวะไร้เลนส์ตาจากการลอกต้อกระจก
( Aphakia ) s โครงสร้างลูกตาอยู่ในสภาวะที่ยังไม่พัฒนาให้โตเต็มขนาด ( เด็กเล็ก ) s อวัยวะบางส่วนที่ใช้ในกระบวนการเพ่งเสื่อม หรือพิการ
อาการของสายตายาว ( Symptoms )
1. มองไกลไม่ชัด ( กรณีสายตายาวที่มี Power ต่ำ )
2. มองไม่ชัดทั้งไกลและใกล้ ( กรณีสายตายาวที่มี Power สูง )
3. ปวดศีรษะบริเวณหน้าผาก , ขมับ , ท้ายทอย , ระหว่างคิ้ว
4. ในบางรายอาจมีน้ำตาคลอที่หัวตา , คลื่นไส้หรืออ่อนเพลียเป็นประจำ
ลักษณะของคนสายตายาว ( Signs )
1. ลูกตามีขนาดค่อนข้างเล็กผิดปกติ
2. มีรอยย่นบริเวณหัวคิ้ว ( เนื่องจากขมวดคิ้วเพื่อเพ่งมองภาพเป็นประจำ )
3. อาจมีอาการตาเขเข้าหากัน ( Esophoria ) การแก้ไข ( Treatment ) - ใช้เลนส์นูนหรือเลนส์สายตาบวก ( Convex Lens )
หมายเหตุ : สายตายาวเกิดขึ้นได้ในเด็กและวัยรุ่น แตกต่างกับสายตาคนสูงอายุ ซึ่งเกิดในคนอายุ 38–40 ปีขึ้นไป
(4) สายตาเอียง ( Astigmatism )
คือ สภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุมีการโฟกัสมากกว่า 1 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของกระจกตา ( Cornea ) ที่มีความโค้งของแนวตั้งและแนวนอนแตกต่างกันมาก เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ในคนสายตาปกติความโค้งของกระจกตาจะคล้ายลูกฟุตบอล แต่คนสายตาเอียงจะมีความโค้งของกระจกตา คล้าย ๆ ลูก “ รักบี้ ” ลักษณะของกระจกตา สายปกติ สายตาเอียง
สาเหตุของสายตาเอียง ( Causes )
1. กระจกตาแนวตั้งและแนวนอนมีความโค้งที่แตกต่างกัน มีลักษณะคล้ายลูก รักบี้ ( Hyperboric shape )
2. ผิวของกระจกตาไม่เรียบ ( Un-Equal curvature of the Cornea )
3. เลนส์ตาอยู่ในตำแหน่งผิดปกติ
4. สาเหตุอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม , อุบัติเหตุ , ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดลอกต้อ
อาการของสายตาเอียง ( Symptoms )
1. มองไม่ชัด ทั้งไกลและใกล้ ( Bluring both far and near )
2. มองเห็นภาพซ้อน ( Double Vision )
3. ปวดล้ากระบอกตา รวมถึงปวดศีรษะ ( Asthenopia )
4. ในบางรายอาจมีอาการน้ำตาไหล ( Tearing ) หรืออาจมีอาการคลื่นไส้ในบางราย
ลักษณะของคนสายตาเอียง ( Signs )
1. หยีตาหรือขมวดคิ้วเพื่อมองภาพ
2. รูม่านตามีขนาดเล็ก ( Constricted Pupil )
3. บางรายอาจมีการเอียงศีรษะมองภาพ
การแก้ไข ( Treatment )
- ใช้เลนส์ทรงกระบอกหรือเลนส์สายตาเอียง ( Cylindrical Lens )
(5) สายตาคนสูงอายุ ( Presbyopia )
โดยทั่วไปเลนส์ตา ( Crystalline Lens ) ของคนเราจะสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้พองขึ้นหรือแบนลง เพื่อปรับโฟกัสได้เองโดยอัตโนมัติ คือเมื่อมองไกล เลนส์ตาจะคลายตัวให้ แบนลง และเมื่อมองใกล้ก็จะปรับตัวเองให้พองหรือนูนขึ้น ซึ่งเราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า “ การเพ่ง ”
( Accommodation ) แต่เมื่ออายุย่างเข้า 37 ปีขึ้นไปความสามารถนี้จะลดลง
สาเหตุ ( Cause )
- เกิดจากเลนส์ตาสูญเสียความยืดหยุ่น ( แข็งตัว ) อันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพตามอายุขัย โดยจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุย่างเข้า
37 – 40 ปี
อาการและลักษณะของคนสายตาสูงอายุ
1. อ่านหนังสือหรือดูใกล้ไม่ชัด คือต้องอ่านในระยะที่ห่างจากตามากขึ้นกว่าเดิม ( ระยะของการถือหนังสือจะไกลขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ จนไม่สามารถอ่านได้ในที่สุด )
2. ขมวดคิ้ว , หยีตา ในขณะเพิ่งอ่านหนังสือ ( Vertical wrinkle of the brow )
3. เพลียหรือล้ากระบอกตา ( Eye strain )
4. แสบตาหรือมีน้ำตาไหลในบางราย ( Tearing and Photophobia )
5. ความสามารถการดูใกล้จะลดลงในที่แสงสว่างน้อยหรือช่วงกลางคืน
การแก้ไข ( Treatment )
แก้ไขโดยการใช้เลนส์สายตาบวกหรือเลนส์นูนสำหรับการอ่านหนังสือ แต่หากต้องการทั้งมองไกลและมองใกล้ในอันเดียวกัน ก็สามารถใช้เลนส์ที่มีค่า Addition ได้แก่ เลนส์สองชั้น ( Bifocal ) , เลนส์โปรเกรสซีฟ ( Progressive ) เป็นต้น