สายตาสั้นตอนกลางคืน (Night myopia)

และ ตาบอด ตาฟางตอนกลางคืน (Night Blindness)



ภาวะความผิดปกติของการมองเห็นของ 2 อย่างนี้ คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดคิดว่าเหมือนกัน ทั้งๆที่สาเหตุของความผิดปกติ หรือกลไกการเกิดความผิดปกติ นั้นไม่เหมือนกันเลย



สายตาสั้นตอนกลางคืน (Night myopia)



สาเหตุและกลไกการเกิดความผิดปกติ เกิดจากในเวลากลางคืน เมื่อมีแสงน้อย รูม่านตาจะเปิดกว้างขึ้นเพื่อต้องการให้แสงซึ่งมีน้อยนั้นเข้ามาในดวงตาให้ มากที่สุด เนื่องจากระบบการมองเห็นนั้นจะถูกกระตุ้นด้วยแสง ขณะที่รูม่านตาขยายใหญ่นั้น แสงที่บริเวณจุดกึ่งกลางของตาดำจะหักเหแสงและไปโฟกัสพอดี ที่จุดรับภาพ บนจอรับภาพ แต่แสงที่บริเวณริมๆ ขอบๆ ของรูม่านตาจะหักเหแสง แล้วไปโฟกัสก่อนถึงจอรับภาพ (การที่แสงไปโฟกัสก่อนถึงจอรับภาพ จะเรียกว่า ภาวะสายตาสั้น) การที่แสงที่ผ่านเข้ามาในระบบการมองเห็นแล้วไปโฟกัสคนละจุด ไม่ได้ไปโฟกัสที่จุดเดียวกัน ทำให้ภาพที่ได้ไม่คมชัดเรียกว่าเกิด spherical aberration เมื่อสาเหตุของการเกิดความผิดปกติเป็นอย่างนี้ ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า อย่างนี้ความผิดปกตินี้น่าจะเกิดกับมนุษย์ทุกคน ใช่ครับมันเกิดกับดวงตาของ มนุษย์ทุกคู่บนโลกใบนี้ แต่ธรรมชาติแก้ไขปัญหานี้ให้กับมนุษย์โดยการออกแบบให้ความโค้งของกระจกตามนุษย์ให้มีความโค้งที่ไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณเพื่อ ชดเชยการหักเหของแสง กล่าวคือกระจกตาจะมีความโค้งมากที่สุดบริเวณกึ่งกลางตาดำ และความโค้งนี้จะโค้งน้อยลงบริเวณที่ห่างจากจุดศูนย์กลางออกไปจนถึง ขอบกระจกตา โดยที่บริเวณขอบหรือริมกระจกตาจะมีความโค้งน้อยกว่าบริเวณกึ่งกลาง ผู้อ่านอาจจะมีคำถามในใจว่าในเมื่อธรรมชาติชดเชยให้แล้วทำไมยังมี ปัญหาเกิดขึ้นอีก ใช่ครับชดเชยให้แล้ว แต่มนุษย์แต่ละคนก็มีสรีระที่ไม่เหมือนกัน ดวงตาก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่แต่ละคนจะมีลักษณะทางสรีระที่ไม่เหมือนกัน คนที่ ประสบปัญหานี้เกิดจากการชดเชยดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ แก้ไขได้ไม่หมด จึงทำให้มีปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นเฉพาะตอนที่แสงน้อยถึงระดับนึง หรือ ในตอนมืดเท่านั้นครับ แต่ตอนกลางวัน หรือในขณะที่มีแสงเพียงพอจะไม่มีปัญหาครับ

อาการ

จะมองเห็นไม่ชัดเจนในขณะที่แสงน้อยถึงระดับนึง หรือในตอนกลางคืนเท่านั้น อาทิเช่นจะไม่กล้าขับรถในตอนกลางคืน รู้สึกไม่มั่นใจ อันเนื่องมาจากเห็น ไม่ชัด



การแก้ไข



แวะไปปรึกษานักทัศนมาตรใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด และใส่แว่นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะเวลากลางคืน หรือในที่ที่มีแสงไม่เพียงพอ



ตาบอด ตาฟางตอนกลางคืน (Night Blindness) หรือ Nyctalopia



สาเหตุและกลไกการเกิดความผิดปกติ สาเหตุหลักเกิดจากการขาดวิตะมินเอ ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลรับภาพที่มีหน้าที่รับภาพในการมองเห็นในที่ที่ มีแสงน้อยบนจอประสาทตา และทำให้เกิดภาวะตาแห้ง ส่วนสาเหตุอื่น อาทิเช่น ต้อกระจก และ การเสื่อมของจอประสาทตาชนิดหนึ่ง ( retinitis pigmentosa ) โรคทางกายที่เกี่ยวกับตับก็จะทำให้การดูดซึมวิตะมินเอไม่ดี ทำให้ร่างกายขาดวิตะมินเอได้ ทั้งๆที่บริโภคอาหารที่มีวิตะมินเอเพียงพอ ซึ่งวิตะมินเอนั้นเป็นองค์ ประกอบหลัก และเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิต rhodopsin ซึ่งใช้ในการผลิตเซลชนิดนึงบนเซลรับภาพที่สูญเสียไปเมื่อถูกแสง (สูญเสียไปตลอดระยะเวลาในการ มองเห็น) ปกติเซลล์ชนิดนี้จะถูกผลิตทดแทนได้อย่างรวดเร็วมาก ทำให้การปรับตัวในที่แสงน้อยไม่มีปัญหา หากขาดวิตะมินเอ หรืออาจเรียกว่าสารตั้งต้นแล้ว ก็ไม่ สามารถผลิตเซลที่ต้องการได้รวดเร็ว และเพียงพออย่างที่ควรจะเป็น จึงทำให้เกิดปัญหาครับ

จากรูป บริเวณส่วนกลางของรูป คือ ภาพที่คนที่มีปัญหา Night Blindness เห็นส่วนด้านซ้ายและขวาของรูปคือภาพที่คนตาปกติเห็น



อาการ



ไม่สามารถเห็น หรือเห็นฝ้าฟางในที่แสงน้อย อาทิเช่น ขณะขับรถตอนกลางคืนมีอาการเห็นไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว เมื่อแสงไฟหน้าของรถที่วิ่งสวนทางมาเข้าตา ทำให้มองไม่เห็นอะไรเลยหลายวินาที



ข้อแนะนำ ควรไปปรึกษาจักษุแพทย์ใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยครับ

ที่มา ดร.ธงชัย อัสรางชัย (Doctor of Optometry)
 
 
บริษัท สมาร์ท วิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด 1811,1813 ถ.จรัญสนิทวงศ์ บางพลัด กทม 10700 Tel. 0 2433 4755-6 E-mail : crm.svt@gmail.com Fb : www.facebook.com/smartvision99 Line ID :@smartvision
กรุณาเลือกหัวข้อ

แจ้งแก้ไข ซ่อมแซมแว่นตา

ตรวจสุขภาพสายตาเคลื่อนที่สำหรับบุคคลหรือหน่วยงาน

อบรมให้ความรู้เรื่องสายตา,โรคตา,การดูแลสุขภาพตานอกสถานที่

Name
:
Email
:
Telephone
:
Detail
: